วนอุทยานดอยกาดผี ตั้งอยู่บริเวณบ้านห้วยชมภู ตำบลห้วยชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ลาวฝั่งซ้ายและแม่กกฝั่งขวา ตำบลห้วยชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย มีเนื้อที่ประมาณ 6,250 ไร่ เป็นแหล่งที่มีทิวทัศน์สวยงามที่สำคัญของราษฎรในท้องถิ่น เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ทั้งฤดูร้อนและฤดูหนาว ตลอดจนเทศกาลและประเพณีต่างๆ
กรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พิจารณาเห็นว่า พื้นที่ดังกล่าวมีลักษณะโดดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงาม เพื่อเป็นการสงวนคุ้มครองพื้นที่ให้คงอยู่ตลอดไป เพื่อประโยชน์เป็นแหล่งศึกษาวิจัยค้นคว้า และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน รวมทั้งเพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมตลอดจนความหลากลายทางชีวภาพ สำหรับเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารและอยู่อาศัยของสัตว์ป่า แหล่งอาหาร แหล่งนันทนาการ และการท่องเที่ยวทางธรรมชาติของประชาชน จึงได้นำเรื่องเรียนปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อนำเรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายยงยุทธ ติยะไพรัช) ให้ความเห็นชอบในหลักการ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2549 และได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานดอยกาดผี เนื้อที่ 6,250 ไร่ ตามประกาศกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่ 1509/2549 ลงวันที่ 29 กันยายน 2549
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะทั่วไปเป็นเทือกเขาสูง ทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ พื้นที่ลาดเอียงไปทางทิศตะวันตก โดยมีความลาดชันประมาณ 30-45 เปอร์เซ็นต์ พื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 800-1113 เมตร
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพอากาศเป็นแบบมรสุมเขตร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 12 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 37.7 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปีเท่ากับ 1,805 มิลลิเมตร โดยจะมีช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน ช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม และช่วงฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์
พรรณไม้และสัตว์ป่า
พืชพรรณส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ โดยมีไม้ยืนต้น กระจายเต็มพื้นที่ และมีไม้สักปะปนคละกับไม้อื่น เช่น เสี้ยว ก่อ ทะโล้ นอกจากนั้นยังมีพืชพวกกลุ่มเฟิน และกล้วยไม้หลากพันธุ์ขึ้นอยู่ตามบริเวณยอดดอยกาดผี
สัตว์ป่าประกอบด้วย
นกกระปูด นกกางเขนดง นกปรอดหัวโขน นกกะราง นกแอ่นบ้าน ไก่ป่า กระต่ายป่า อ้นเล็ก กระจ้อน กระแตธรรมดา กระรอก งูชนิดต่าง ๆ ตุ๊กแก จิ้งจก จิ้งเหลน คางคกบ้าน และกบห้วย จิงโจ้น้ำ เป็นต้น
ข้อมูลติดต่อ
วนอุทยานดอยกาดผี ต.ห้วยชมภู อ. เมืองเชียงราย จ. เชียงราย
องค์การบริหารส่วนตำบลวาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยชมภู อ.เมือง จ.เชียงราย
การเดินทาง
เส้นทางที่ 1 จากเชียงราย - แม่สรวย - วาวี จนถึงยอดดอยระยะทางประมาณ 100 กม.
เส้นทางที่ 2 จากเชียงราย - ถ.แม่จัน-ท่าตอน ถึงอนามัยบ้านท่ามะแกงเลี้ยวซ้ายขึ้นไป ระยะทางก็ประมาณ 100 กม. พอๆกัน
เส้นทางที่ 3 สำหรับคนชอบลุยหรือใช้รถ 4x4 เชียงราย ผาเสริฐ กกน้อย กาดผี ประมาณ 30 กม.
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก
http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=41024.0
http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=320694
http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=795309.0
2.บ่อน้ำร้อนผาเสริฐ
บ่อน้ำร้อนผาเสริฐ อยู่บริเวณริมลำห้วยโป่งน้ำร้อน บ้านผาเสริฐพัฒนา หมู่ที่ 6 ตำบลดอยฮาง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย แต่เดิมบ่อน้ำพุร้อนผาเสริฐซึ่งตั้งอยู่บริเวณที่ลุ่มใกล้ลำน้ำกก ในฤดูฝนปริมาณน้ำในลำน้ำกกได้ไหลท่วมนอง ในพื้นที่บ่อน้ำร้อนเป็นเวลาหลายเดือน และขาดการนำน้ำร้อนมาใช้อย่างจริงจัง มีเพียงการนำหน่อไม้มาแช่ต้มเท่านั้น ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2545 องค์การบริหารส่วนตำบลดอยฮาง ได้ริเริ่มให้มีการพัฒนาและปรับปรุงปรับสภาพภูมิทัศน์บริเวณบ่อน้ำร้อนผาเสริฐ โดยของบประมาณการดำเนินการจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย และงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลดอยฮางเองจนมาถึงปัจจุบันการพัฒนาและปรับปรุงได้เสร็จสมบูรณ์ตามเป้าหมายอยู่ในระดับหนึ่ง บ่อน้ำพุร้อน ผาเสริฐสามารถเปิดบริการอาบน้ำแร่เพื่อสุขภาพแบบบ่อรวมกลางแจ้งขนาดใหญ่ , อาคารอาบน้ำแร่แบบบ่อแยกอาบน้ำแร่ระบบสปา จำนวน 3 อาคาร 8 ห้อง , บริการนวดแผนไทย , บริการให้เช่าเต้นท์พักแรม , การจัดแค้มป์ไฟเป็นหมู่คณะ และในบริเวณเดียวกันยังมีปางช้างผาเสริฐบริการช้างนำเที่ยวทุ่งดอกบัวตองในฤดูหนาวที่บานสะพรั่งทั่วหุบเขา นำเที่ยวหมู่บ้านชาวเขาเผ่าอาข่า เผ่าลาหู่และนำเที่ยวน้ำตกห้วยแก้ว ทั้งระยะใกล้และระยะไกล นอกจากนี้ยังได้จัดทำท่าเรือบ้านผาเสริฐ ให้นักท่องเที่ยวที่ล่องแพตามลำน้ำกกมาจากบ้านท่าตอน หรือโดยสารเรือหางยาวนำเที่ยวชมทัศนียภาพขึ้น-ล่องตามลำน้ำกก ได้แวะพักมาใช้บริการอาบน้ำแร่ ขี่ช้าง เที่ยวน้ำตกหรือเที่ยวหมู่บ้านชาวเขาที่อยู่บริเวณใกล้เคียงได้อีกด้วย
อัตราค่าบริการด้านต่าง ๆ
ปางช้างผาเสริฐ
- บริการนั่งช้างชมทุ่งดอกบัวตอง ระยะใกล้เชือกละ 200 บาท
- บริการนั่งช้างไปบ้านอาข่าผาเสริฐเชือกละ 300 บาท - บริการนั่งช้างไปน้ำตกห้วยแก้ว ระยะไกล เชือกละ 700 บาท ท่าเรือเชิง สะพานแม่ฟ้าหลวง
- เช่าเรือหางยาวแบบเหมาลำไป-กลับ บ่อน้ำร้อนผาเสริฐ ลำละ 600 บาท นั่งได้ 8 คน ใช้เวลาเดินทาง 40 นาที
บ่อน้ำพุร้อนผาเสริฐ
- บริการอาบน้ำแร่แบบกลางแจ้ง อัตรา ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท - บริการห้องอาบน้ำแร่แบบแยกอาบส่วนตัวระบบสปา อัตรา 1 คน 40 บาท , 2 คน 70 บาท , 3 คน 90 บาท
- บริการเช่าเต้นท์นอน ขนาดเล็ก 50 บาท/คืน , ขนาดกลาง 100 บาท/คืน , ขนาดใหญ่ 150 บาท/คืน - บริการจัดแคมป์ไฟเป็นหมู่คณะ อัตราตามจำนวนคนที่มาใช้บริการ

ข้อมูลติดต่อ
องค์การบริหารส่วนตำบลดอยฮาง ต.ดอยฮาง อ.เมือง จ.เชียงราย
โทร / แฟ็กซ์ 053-716436(อบต.ดอยฮาง)
โฮมเพจ / เว็บไซต์ : http://www.doihang.com
จองห้องอาบน้ำแร่ล่วงหน้า โทรศัพท์ 0-5360-9117
การเดินทาง
จากตัวเมืองเชียงราย ใช้ถนนสายเด่นห้า- ต.ดอยฮาง
ระยะทางจากตัวเมืองเชียงรายถึงบ่อน้ำร้อนผาเสริฐประมาณ 20 ก.ม
ถนนลาดยางและคดเคี้ยวเป็นบางช่วง การเดินทางสะดวกทั้งรถเก๋งและรถทัวร์ ระหว่างทางสามารถแวะเยี่ยมชมปางช้าง บ่อน้ำร้อนห้วยหมากเลี่ยม และอุทยานแห่งชาติลำน้ำกกได้
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก
http://goo.gl/2VcxQO
http://www.dooasia.com/trips/phasoet-hot-spring-spa
3.อุทยานศิลปะวัฒนธรรมล้านนา (เดิมชื่อ ไร่แม่ฟ้าหลวง)
อุทยานศิลปะวัฒนธรรมล้านนา (เดิมชื่อ ไร่แม่ฟ้าหลวง) เพื่อเป็นสถานที่ทำการของมูลนิธิผลผลิตชาวเขาไทย ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ต่อมาในปี พ.ศ. 2522 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินโครงการผู้นำเยาวชนชาวเขา (Hill Tribe Youth Leadership) โดยการนำเยาวชนชาวเขาจากหมู่บ้านห่างไกลคมนาคม มาอยู่รวมกันแบบครอบครัวที่ไร่แม่ฟ้าหลวง มอบทุนพระราชทานเพื่อเล่าเรียน และอบรมเรื่องการอยู่ร่วมกับผู้อื่น พึ่งพาตนเอง รับผิดชอบในการงาน ตรงต่อเวลา และมีความซื่อสัตย์ ที่นี่เองคือ “บ้าน” ใหม่ของเยาวชนชาวเขาไทยผู้มาอยู่ร่วมกันเพื่อเรียนรู้การใช้ชีวิตและฝึกงานตามแนวพระราชดำริ ก่อนจะเติบโตแยกย้ายกันไปประกอบสัมมาชีพตามอัธยาศัย โครงการสิ้นสุดลงเมื่อการศึกษาได้ขยายเข้าไปในพื้นที่ห่างไกล เยาวชนได้มีโอกาสเรียนในโรงเรียนใกล้หมู่บ้าน ไร่แม่ฟ้าหลวงจึงเปลี่ยนเป็น อุทยานศิลปะวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวง สถานที่เก็บรักษางานพุทธศิลป์เก่าแก่ โบราณวัตถุอายุนับศตวรรษ สถาปัตยกรรมล้านนา ศิลปวัตถุรังสรรค์จากไม้สัก และให้ความรู้เกี่ยวกับมรดกล้านนาในปัจจุบันบนพื้นที่ 150 ไร่ของอุทยานศิลปะวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวงประกอบด้วยสถานที่ที่น่าสนใจมากมาย อาทิเช่น หอคำ
หอคำ
ณ อุทยานศิลปะวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวง เป็นสถาปัตยกรรมล้านนาที่ได้รับแรงบันดาลใจจากวัดปงสนุก อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง รูปทรงอาคารสอบเข้าตามลักษณะเรือนล้านนาโบราณ หลังคาแป้นเกล็ดเป็นแผ่นไม้สัก วางซ้อนเหลื่อมแทนแผ่นกระเบื้อง ลวดลายประดับได้มาจากจังหวัดอุตรดิตถ์ ช่างพื้นบ้านผู้ก่อสร้างจากจังหวัดเชียงรายและแพร่ ช่างแกะสลักจากเชียงใหม่และลำพูน ชาวเชียงรายร่วมใจสร้างหอคำแห่งนี้ถวายเป็นเครื่องไหว้สาแม่ฟ้าหลวง ในโอกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเจริญพระชนมายุ 84 พรรษาเมื่อปีพุทธศักราช 2527
ภายในหอคำคือศูนย์กลางแห่งศรัทธาและความศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เก็บรวบรวมศิลปวัตถุและงานพุทธศิลป์อายุกว่า 200 ปี เช่น พระพร้าโต้องค์ประธาน มีจารึกว่าสร้างในปี พ.ศ. 2236 โดยฝีมือชาวบ้านซึ่งเพิ่งเข้ามาในพื้นที่ และยังไม่มีเครื่องมือเหมาะสมในการสลักเสลาพระพุทธรูปไม้ จึงใช้เพียงมีดโต้แกะสลักเป็นพระพุทธรูป ที่มีลักษณะแข็งแรง สง่างาม เป็นความงามในเชิงพุทธศิลป์และเป็นสัญลักษณ์ศูนย์รวมจิตใจของผู้ศรัทธา พระพุทธรูปโบราณต่างๆ พุทธศิลป์แบบพม่า ไทใหญ่ ลาว สิบสองปันนา เชียงตุง เมืองยอง และล้านนา เช่น พระพุทธรูปแบบพม่า แกะสลักโดยช่างที่มีความสามารถพิเศษ ทำให้ชายผ้าดูคล้ายโบกไหวได้ และเครื่องไม้อันงดงามวิจิตรที่ใช้ในการพระศาสนา เช่น สัตภัณฑ์ เชิงเทียนไม้แกะสลัก ตุงกระด้าง ตุงหรือธงที่แกะสลักจากไม้ ขันดอก ภาชนะสำหรับใส่ดอกไม้ธูปเทียนบูชาพระ
นอกจากนี้ ยังมีหน้าบันแผ่นไม้ทรงสามเหลี่ยม อยู่ 5 ชิ้น แกะสลักเป็นรูปสัตว์ห้าชนิดสัญลักษณ์นักษัตร ตามปีพระราชสมภพของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม สมเด็จพระบรมราชชนก และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอนันทมหิดล และสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา
หอแก้ว
หอแก้ว เป็นอาคารจัดแสดงนิทรรศการถาวรเกี่ยวกับไม้สัก และนิทรรศการชั่วคราวอื่นๆ ที่หมุนเวียนกันไป ตัวอย่างศิลปะวัตถุไม้สักที่นำมาจัดแสดงในหอแก้วได้แก่ ศาลพระภูมิ วงปีของไม้สักพระพุทธรูป นาคทัณฑ์ หน้าบัน โก่งคิ้ว กาแล ช่อฟ้า หางหงส์-ป้านลม หัวเสา ดาวเพดาน แผงแล หำยนต์ขันดอก ขันแก้วตังสาม ต้นบายศรี อาสนา ตุงกระด้าง หีดธรรม (หีบพระธรรม) ก๊างธรรม เป็นต้น
นอกจากอุทยานศิลปะวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวงจะมีความภาคภูมิใจในฐานะได้มีโอกาสเป็นผู้ดูแลรักษาศิลปะที่มีคุณค่าเหล่านี้ ให้สาธารณชนรุ่นหลังได้ศึกษาและชื่นชมกับศิลปวัฒนธรรมที่งดงามแล้ว ภูมิสถาปัตยศิลป์ของอุทยานศิลปะวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวงที่ได้จัดวางเพื่อให้ผู้มาเยือนได้รื่นรมย์ใจในธรรมชาติ ก็สามารถปรับแปลงเป็นลานพิธีกรรมหรือสถานที่จัดงานเลี้ยงรับรองในโอกาสต่างๆ ได้อย่างงดงามยิ่ง โดยอุทยานศิลปะวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวงได้รับเกียรติให้เป็นสถานที่จัดแสดงงานศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี ละคร งานเลี้ยงรับรอง พิธีต้อนรับอาคันตุกะ ประมุขรัฐ ผู้มีชื่อเสียง และประกอบพิธีกรรมพื้นเมืองมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานไหว้สาแม่ฟ้าหลวง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ชาวเชียงรายและผู้เคยได้รับพระเมตตาจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ร่วมใจจัดถวายเพื่อน้อมคารวะแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

ข้อมูลติดต่อ
เลขที่ 313 หมู่ 7 บ้านป่างิ้ว ต.รอบเวียง อ.เมือง จ.เชียงราย
อีเมล์ rmfl@doitung.org
โทร. 0-5371-1968, 053-716605-7, 053-601013 โทรสาร 053-712429
โฮมเพจ / เว็บไซต์ : www.maefahluang.org
เปิดบริการ
วันอังคาร - วันอาทิตย์ 08.30 น. - 17.00 น. (หยุดวันจันทร์)
อัตราค่าเข้าชม
บุคคลทั่วไป
- คนไทย 150 บาท / คน
- คนต่างชาติ 200 บาท / คน
***หมายเหตุ เด็กต่ำกว่า 12 ปี ไม่เสียค่าเข้าชม
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก
http://goo.gl/KUFkNe
http://place.thai-tour.com/chiangrai/mueangchiangrai/1170
4.สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ เชียงราย
ห่างจากตัวเมืองประมาณ 9 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 625 ไร่เศษ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จเป็นประธานเปิดสวน เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2531

สวนแห่งนี้เป็นสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี 80 พรรษา ลำดับที่ 7 ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
ห่างจากตัวเมืองประมาณ 9 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 625 ไร่เศษ เปิดทำการตั้งแต่ พ.ศ. 2531 มีบรรยากาศร่มรื่นย์ เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ
อยู่ในพื้นที่ของวิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายซึ่งให้บริการดูแลรักษาสุขภาพด้วยภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านล้านนา
ภายในสวนมีทัศนียภาพที่สงบ สวยงาม และร่มรื่นย์ อากาศสดชื่น มีพื้นน้ำเป็นหนองบัวกว้างถึง 223ไร่ ซึ่งน้ำในหนองใสกระจ่างและเต็มปริ่มตลอดปี มีทั้งหนองบัวใหญ่และหนองบัวน้อย บนพื้นที่รอบหนองบัวมีการตกแต่งอย่างสวยงามด้วย วงเวียนดอกไม้ที่มีดอกไม้เมืองหนาวเป็นจำนวนมาก มีเนินขนาดย่อมที่เป็นสวนดอกไม้และมีศาลานั่งพักผ่อนเป็นสถาปัตยกรรมแบบเชียงราย มี "ถนนดอกไม้" ที่ยาวหลายร้อยเมตรให้เดินเล่น เป็นแกนเชื่อมระหว่างหนองบัวใหญ่และหนองบัวน้อย พื้นที่ล้อมรอบสวนนั้นเป็นทุ่งนา หมู่บ้าน ป่าสงวน และอาณาเขตของมหาวิทยาลัยราชภัฏ มองออกไปไกลๆ จะเห็นวิวเทือกเขาอยู่ลิบๆ ความสวยงามของที่นี่นอกจากผืนน้ำที่ทอแสงระยิบระยับดอกไม้เบ่งบานสดใสแล้ว ยังมีสวนปาล์ม สวนไผ่ สวนสัก และสวนรุขชาติ ทั้งยังมีต้นฝ้ายคำหรือกรรณิการ์ ต้นไม้ประจำสวน อยู่ทั่วบริเวณ เมื่อถึงฤดูกาลจะออกดอกสีเหลืองอร่ามงามตาสะท้อนอยู่ในหนองน้ำ ประชาชนนิยมแวะมาพักผ่อนและออกกำลังกายกันที่นี่ เปิดทำการทุกวันตั้งแต่เวลา 8.30 – 18.00 น. ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
การเดินทาง
มาที่นี่สะดวกและง่าย โดยสวนอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงราย ประมาณ 8 กม. บนเส้นทางเชียงราย – แม่จัน เข้าทางด้านหลังมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก เชียงราย โทร. 05 370 3388
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก
https://goo.gl/Lx2lCf
http://goo.gl/Dbl8OJ
5.วัดร่องขุ่น
วัดร่องขุ่น เป็นวัดที่มีความสวยงามโดดเด่นต่างจากวัดอื่นๆ ด้วยฝีมือการออกแบบ และก่อสร้างของ อ. เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินชื่อดัง เพื่อเป็นวัดประจำบ้านเกิด สร้างโดยจินตนาการของอาจารย์ จัดเป็นงานพุทธศิลป์ที่ยิ่งใหญ่ และงดงามน่าแวะชมมากแห่งหนึ่ง
อ. เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ มีแรงบันดาลใจในการสร้างวัดแห่งนี้อยู่ 3 ประการ คือ เพื่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ซึ่งอาจารย์บอกว่า
จึงตั้งความปรารถนาที่จะถวายชีวิต ใช้ช่วงเวลาที่ดีที่สุดของตนเอง สร้างงานพุทธศิลป์ เพื่อเป็นงานประจำรัชกาลของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ได้ และจะถวายชีวิตไปจนตายคาวัด" (จากเอกสารของวัดร่องขุ่น) ความงดงามของวัดแห่งนี้อยู่ที่ "โบสถ์" เพราะอาจารย์อยากจะเนรมิตวัดให้เหมือนเมืองสวรรค์ เป็นวิมานบนดินที่มนุษย์สามารถสัมผัสได้ โบสถ์ เปรียบเหมือนบ้านของพระพุทธเจ้า สีขาว แทนพระบริสุทธิคุณของพระพุทธเจ้า กระจกขาว หมายถึง พระปัญญาธิคุณของพระพุทธเจ้าที่เปล่งประกายไปทั่วโลกมนุษย์ และจักรวาล
สะพาน หมายถึง การเดินข้ามวัฏสงสารมุ่งสู่พุทธภูมิ ก่อนขึ้นสะพานครึ่งวงกลมเล็ก หมายถึง โลกมนุษย์ วงใหญ่ที่มีเขี้ยวเป็นปากของพญามารหรือพระราหู หมายถึง กิเลสในใจแทนขุมนรกคือทุกข์ ผู้ที่จะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าในพุทธภูมิต้องตั้งจิตปลดปล่อยกิเลสตัณหาของตนเองลงไปในปากพญามาร เพื่อเป็นการชำระจิตให้ผ่องใสก่อนที่จะเดินผ่านขึ้นไปพบกับพระราหูอยู่เบื้องซ้าย และพญามัจจุราชอยู่เบื้องขวา บนสันของสะพานจะประกอบไปด้วยอสูรกลืนกัน 16 ตน ข้างละ 8 ตน หมายถึง อุปกิเลส 16 จากนั้นก็จะถึงกึ่งกลางสะพานหมายถึง เขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นที่อยู่ของเทวดา ด้านล่างเป็นสระน้ำหมายถึง สีทันดรมหาสมุทร มีสวรรค์ตั้งอยู่ด้วยกัน 6 ชั้นด้วยกัน ผ่านสวรรค์ 6 เดินลงไปสู่พรหม 16 ชั้น แทนด้วยดอกบัวทิพย์ 16 ดอกรอบพระอุโบสถ ดอกที่ใหญ่สุด 4 ดอก ตรงทางขึ้นด้านข้างโบสถ์หมายถึง ซุ้มพระอริยเจ้า 4 พระองค์ ประกอบด้วยพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ เป็นสงฆ์สาวกที่ควรกราบไหว้บูชา ก่อนขึ้นบันได ครึ่งวงกลมหมายถึง โลกุตตรปัญญา บันไดทางขึ้น 3 ขั้นแทน อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ผ่านแล้วจึ้งขึ้นไปสู่อรูปพรหม 4 แทนด้วยดอกบัวทิพย์ 4 ดอกและบานประตู 4 บาน บานสุดท้ายเป็นกระจกสามเหลี่ยมแทนความว่าง ซึ่งหมายถึงความหลุดพ้น แล้วจึงก้าวข้ามธรณีประตูเข้าสู่พุทธภูมิ ภายในประกอบด้วยภาพเขียนโทนสีทองทั้งหมด ผนัง 4 ด้าน เพดานและพื้นล้วนเป็นภาพเขียนที่แสดงถึงการหลุดพ้นจากกิเลสมาร มุ่งเข้าสู่โลกุตตรธรรม ส่วนบนของหลังคาโบสถ์ ได้นำหลักการของการปฏิบัติจิต 3 ข้อ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นำไปสู่ความว่างคือความหลุดพ้นนั่นเองนี่เป็นเพียงรายละเอียดคร่าวๆ ของโบสถ์ของวัดร่องขุ่น ส่วนรายละเอียดจริงๆ นั้น อาจารย์บอกว่าจะสร้างทั้งหมด 9 หลัง แต่ละหลังมีความหมายเป็นคติธรรมทุกหลัง ผมหวังจะสร้างงานพุทธศิลป์ของแผ่นดินให้ยิ่งใหญ่อลังการ เพื่อให้คนทั้งโลกยอมรับ และปรารถนาจะมาชื่นชมให้ได้ จะถวายชีวิตสร้างจนลมหายใจสุดท้าย และได้สร้างลูกศิษย์รอรับช่วงต่ออีก 2 รุ่น หลังผมตาย คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ทั้ง 9 หลัง คงใช้เวลาทั้งหมด 60-70 ปีครับ นอกจากจะชมความงดงามของพระอุโบสถแล้ว ยังสามารถเข้าชมผลงานของอาจารย์ และเลือกซื้อของที่ระลึกจากวัดร่องขุ่นได้อีกด้วย
วัดร่องขุ่น เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2540 โดยท่านอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ จิตรกรชั้นแนวหน้าของไทย ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างมาจาก3 สิ่งต่อไปนี้คือ
1. ชาติ : ด้วยความรักบ้านเมือง รักงานศิลป์ จึงหวังสร้างงานศิลปะที่ยิ่งใหญ่ไว้เป็นสมบัติของแผ่นดิน
2. ศาสนา : ธรรมะได้เปลี่ยนชีวิตของอาจารย์เฉลิมชัยจากจิตที่ร้อนกลายเป็นเย็น จึงขออุทิศตนให้แก่พระพุทธศาสนา
3. พระมหากษัตริย์ : จากการเข้าเฝ้าฯ ถวายงานพระองค์ท่านหลายครั้ง ทำให้อาจารย์เฉลิมชัยรักพระองค์ท่านมาก จากการพบเห็นพระอัจฉริยะภาพทางศิลปะและพระเมตตาของพระองค์ท่าน จนบังเกิดความตื้นตันและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
ลักษณะเด่นของวัด
คือพระอุโบสถที่ตกแต่งด้วยสีขาวเป็นพื้น ประดับด้วยกระจกแวววาววิจิตรงดงามแปลกตา บนปูนปั้นเป็นลายไทย โดยเฉพาะภาพพระพุทธองค์หลังพระประธานซึ่งเป็นภาพที่ใหญ่งดงามมาก เหนืออุโบสถที่ประดับด้วยสัตว์ในเทพนิยาย เป็นรูปกึ่งช้างกึ่งวิหคเชิดงวงชูงา ดูงดงามแปลกตาน่าสนใจมาก ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถก็เป็นฝีมือภาพเขียนของอาจารย์เอง
ความหมายของอุโบสถ
สีขาวของโบสถ์แทนพระบริสุทธิคุณของพระพุทธเจ้า กระจกขาวหมายถึง พระปัญญาธิคุณของพระพุทธเจ้าที่เปล่งประกายไปทั่วโลกมนุษย์และจักรวาล
ช่อฟ้าเอก หมายถึง ศีล ประกอบด้วยสัตว์ 4 ชนิดผสมกัน แทน ดิน น้ำ ลม ไฟ ช้าง หมายถึง ดิน, นาค หมายถึง น้ำ, ปีกหงส์ หมายถึง ลม และหน้าอก หมายถึง ไฟ ขึ้นไปปกปักรักษาพระศาสนา บนหลัง ช่อฟ้าเอกแทนด้วยพระธาตุ หมายถึง ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ศีล 227 ข้อ และ 84,4000 พระธรรมขันธ์
ช่อฟ้าชั้นที่ 2 (บน) หมายถึง สมาธิ แทนด้วยสัตว์ 2 ชิด คือ พญานาคกับหงส์ เขี้ยวพญานาค หมายถึง ความชั่วในตัวมนุษย์ หงส์ หมายถึง ความดีงาม ศีลเป็นตัวฆ่าความชั่ว (กิเลส) เมื่อใจเราชนะกิเลสได้ก็เกิดสมาธิ มีสติกำหนดรู้เกิดปัญญา
ช่อฟ้าชั้นที่ 3 (สูงสุด) หมายถึง ปัญญา แทนด้วยหงส์ปากครุฑ หมอบราบนิ่งสงบไม่ปรารถนาใดๆ มุ่งสู่การดับสิ้นซึ่งอาสวะกิเลสภายใน
ด้านหลังหางช่อฟ้าชั้นที่ 3 มีลวดลาย 7 ชิ้น หมายถึงโพชฌงค์ 7 ลาย 8 ชิ้นรองรับฉัตร หมายถึง มรรค 8 ฉัตรหมายถึงพระนิพพานลวดลายบนเชิงชายด้านข้างของหลังคาชั้นบนสุดแทนด้วยสังโยชน์ 10 เสา 4 มุม ด้านข้างโบสถ์ คือ ตุง (ธง) กระด้าง เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระพุทธเจ้าตามคติล้านนา
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก
http://goo.gl/SU4aUE
http://goo.gl/aM3yaI
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น